คอนเสิร์ตย้อนอดีตเพลงดังศิลปินสังกัด คีตา กว่า 40 ชีวิต

 

ได้เวลาย้อนอดีตไปกับเพลงดังกันอีกครั้งกับ “Kita Back To The Future Concert” (คีตา แบ็ก ทู เดอะ ฟิวเจอร์ คอนเสิร์ต) ซึ่งได้จัดขึ้นไปเมื่อ วันที่ 20 มกราคม ณ พารากอนฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน รวมศิลปินสังกัดคีตาในอดีตกว่า 40 ชีวิตมาร่วมขับขานบทเพลงคุ้นหูที่หลายคนยังคงระลึกถึง ได้แก่ “อ๊อฟ – พงศ์พัฒน์ วชิรบรรจง” “นีโน่ – เมทนี บุรณศิริ” “อ้อม – สุนิสา สุขบุญสังข์” “แซม – ยุรนันท์ ภมรมนตรี” “ฮันนี่ – ภัสสร บุญญเกียรติ” “เอ้ – ชุติมา นัยนา” และสาวที่หายหน้าไปนาน “แอนเดรีย สวอเลช”

นอกจากนี้ยังมี “แอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์” “ยุ้ย – ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี” “จุ๋ม – นรีกระจ่าง คันธมาศ” “โก้ – ธีรศักดิ์ พันธุจริยา” รวมไปถึงกลุ่มศิลปินอย่าง “เฉลียง” “สามโทน” “มะลิลา บราซิลเลี่ยน” “ยูโฟร์” “ฝันดี-ฝันเด่น” “ทีสเกิร์ต” “แจ็กแอนด์จิล” “ออโต้บาห์น” และ “ดร.คิดส์”

เริ่มกันในบทเพลงที่แสดงความรู้สึกจากใจของพวกเขา “คิดถึงห่างๆ” เพลงเก่าของวง เฌอ ที่ได้ ฝันดี-ฝันเด่น ทีสเกิร์ต ยุ้ย ยูโฟร์ ดร.คิดส์ และ โก้ มาขับร้อง จากนั้นจึงเป็นบทเพลงดังสนุกสนานของแต่ละคนบ้าง ได้แก่ “หัวไม่เหน่ง” จาก ฝันดี-ฝันเด่น “พี่ไม่คิดอะไร” จาก ยูโฟร์ “ไม่เท่าไหร่หรอก” จาก ทีสเกิร์ต “รู้แล้วจะหนาว” จาก ยุ้ย ส่วนเพลงซึ้งๆ ก็มีกับ “ข่าวร้าย” ของ ดร.คิดส์ และ “บ้านเธอสิ” เพลงที่มีประโยคกวนๆ จาก แอนเดรีย

มายังเมดเล่ย์เพลงช้า ที่ทุกเพลงนั้นผู้ชมในฮอลล์ต่างก็ร้องตามกันได้อย่างเสียงดัง ตั้งแต่ “สบตา” จาก แอนเดรีย “กอดเธอไว้” จาก ยูโฟร์ ที่ตอนนี้ ซันนี่ ยูโฟร์ ซึ่งแต่งตัวเป็นผู้ชายในตอนแรกนั้น ได้แปลงการเป็นสาวเซ็กซี่ มาคลอเคลีย 3 สมาชิกหนุ่มที่เหลือแทน ต่อด้วย “เธอยังคงมีฉัน” จาก ยุ้ย “นอนฝันดี” จาก โก้ “เจ็บแทนได้ไหม” จาก ทีสเกิร์ต “หมื่นคำลา” จาก ฝันเด่น และ “แกล้งโง่” จาก ฝันดี

ถึงคราวนักร้องรุ่นพี่บ้างกับบทเพลงเพราะๆ ซึ้งๆ เช่นเคย “ทนได้ทนไป” จาก เอ็ดดี้ ออโต้บาห์น “แด่เธอ” จาก ป้อม ออโต้บาห์น รวมไปถึงเพลงน่ารักๆ “รักกันวันละนิด” จาก จุ๋ม จนมาที่ “เพียงแต่วันนั้น” จาก แอนนา ซึ่งเป็นบทเพลงดังของปี 2529 ที่นับว่านานมากทีเดียว ทำเอาคนดูที่ยังจำได้นั้นพากันปรบมือให้เสียงดัง

ส่วนบทเพลงที่คงขาดไม่ได้เลย คือ “คนขี้เหงา” จากหนุ่มอารมณ์ดี นีโน่ ที่จบเพลงเขายังมีคำพูดเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้เช่นเคยกับข้อความฮาๆ ว่า “วันนี้ออกมานะครับ เค้าก็ให้ใส่ชุดขาว เค้าบอกว่าพี่โน่ใส่ชุดขาวแล้วดูดี เมื่อกี้เราก็ออกไปส่องกระจกดู ถ้ามีไม้เท้าหน่อยนะ ยืนหน้าเคนตั๊กกี้ได้เลย แล้วพอพี่ถามว่าก่อนจะร้อง ให้ไปรอได้ที่ไหน ก็บอกว่าพี่ไปรอใกล้ๆ ฝั่งเถอะ ดูมันทำ ดีใจมากเลยครับ (หัวเราะ)” ซึ่งอีกเพลงที่ นีโน่ นำมาฝากกันคือ “ผมรักคุณ”

ต่อด้วย “ความรักเพรียกหา” จาก แซม ฟาก มะลิลา บราซิลเลี่ยน ก็นำเอาบทเพลงแบบลาตินมาฝากใน “ปลายฟ้า” และ “ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่” ขณะที่ความเซ็กซี่ก็มีให้ดูในคอนเสิร์ตวันนี้เช่นกันกับ 2 สาวร้อน ฮันนี่ ที่ปรากฏกายในชุดลายเสือมาในกรงเข้ากับบทเพลง “เสือ” อีกเพลง “หัวงู” นั้น เอ้ ก็มาในชุดและท่าเต้นยั่วยวนเช่นเดียวกัน ทำเอาช่างภาพในงานต้องพากันกดชัตเตอร์แบบรัว

ต่อกันที่ สามโทน ที่มีเพลงโจ๊ะๆ “เจ้าภาพจงเจริญ” มาร้อง ต่อด้วยเพลงเศร้าๆ “น้ำตาฟ้า” ที่ทำเอา ธง สามโทน ถึงกับซึ้งที่ได้ร้องเพลงนี้จนน้ำตาคลอกันเลย ส่วนอีกกลุ่มขวัญใจแฟนๆ อย่าง เฉลียง ก็ขนเพลงมาให้ฟังกันจุใจ ตั้งแต่ “รู้สึกสบายดี” “ไม่คิดถาม” “ยังมี” และ “เร่ขายฝัน”

ช่วงสุดท้ายกันแล้วกับ 2 ศิลปินสุดห้าวประจำงาน ในเพลง “ถอยดีกว่า” จาก อ้อม ต่อด้วยเพลงความหมายดีจากสาวเท่คนนี้ต่อใน “อย่ายอมแพ้” ส่วนร็อกเกอร์หนุ่ม อ๊อฟ ก็เอาใจแฟนๆ ด้วยเพลงดังของเขา “อีกนาน” และ “ฟั่นเฟือน”

จบเพลง อ๊อฟ ยังมีคำพูดขอบคุณคนดูด้วยว่า “ขอบคุณนะครับ คีตาก็เป็นบริษัทเล็กๆ ที่เปิดมาประมาณ 20 ปีที่แล้ว ส่วนตอนนี้ก็อยู่ที่ไหนแล้วไม่รู้ ไม่เป็นไรแต่ศิลปินและนักร้องยังอยู่ ยังมีชีวิตอยู่กันเกือบทุกคน ดีใจและขอบคุณมาก ผมรู้ว่าวันนี้ที่พวกเรามารวมตัวกันได้เพราะพวกเรามีหัวใจเดียวกันเนอะ หัวใจแบบนี้ครับ หัวใจ ใจๆ…” แน่นอนว่านี่คือเพลง “ใจนักเลง” และต่อด้วย “ไม่รู้นี่หว่า”

จนมาปิดงานกันที่ “เรามาจากไหน” เพลงที่ศิลปินคีตาทั้งหมดมาร้องร่วมกัน ถือเป็นการจบคอนเสิร์ตได้เต็มอิ่ม กับบทเพลงมากมายของค่าย คีตา ที่หลายคนอยากจะฟังสดๆ กันอีกครั้งมานาน

ภาพข่าว




































































































ข่าววันที่ 23 มกราคม 2550

ม. ฤทธิ์เต็ม – ข้ามันลูกทุ่ง

มาโนช ฤทธิ์เต็ม หรือ ม.ฤทธิ์เต็ม เป็นชาว จ. อุทัยธานี เกิดเมื่อประมาณปี 2505 มีชีวิตที่สุดแสนลำบากมาตั้งแต่เด็กๆ ต้องปากกัดตีนถีบดูแลตัวเองมาตลอด งานหนักงานเบาไม่เคยเกี่ยง หลีกเลี่ยงเฉพาะงานที่ผิดกฎหมายเท่านั้น นอกจากนั้นเขาไม่เคยอายที่จะลงมือทำงานเพื่อแลกเงินมายาไส้ เนื่องจากพ่อแม่เลิกร้างกันไปตั้งแต่เขาอายุยังน้อย พ่อไปมีครอบครัวใหม่ โดยมาเป็นจับกังอยู่เมืองหลวง และอยากให้เขามาอยู่ด้วย แต่ไม่ให้เรียนหนังสือ ส่วนแม่ของเขาก็ยากจน ทำมาหากินโดยการทำไร่ในป่าดง ถ้าไปอยู่ด้วย ก็คงไม่ได้เรียนหนังสือเช่นกัน เขาก็เลยตัดสินใจไม่ไปอยู่กับใคร แต่มาอาศัยอยู่วัดแทน เพื่อที่จะได้มีโอกาสเรียนหนังสือ และถ้าไม่มีใครส่งเรียน ก็ตัดสินใจจะหาเงินส่งตัวเอง เพราะช่วงที่พ่อแม่เลิกกัน เขาก็เริ่มหัดมองหาลู่ทางสำหรับการหาเลี้ยงชีพเอาแล้ว เนื่องจากช่วงที่ยังอยู่กับครอบครัว พ่อแม่มีอาชีพรับจ้างไปทั่ว ก็เลยทำให้เขาพลอยรู้จักกับบรรดานายจ้างหลายคนด้วย

 

เมื่อต้องหาเงินใช้เอง เขาก็เริ่มจากการไปรับจ้างปั่นสามล้อ โดยปั่นตั้งแต่ยังเด็ก จนถึงตอนที่เรียนอยู่ชั้น ม.ศ. 3 ซึ่งเป็นช่วงชีวิตที่โชกโชนที่สุดตอนเด็กๆ เพราะต้องเอาความเจ็บปวดของร่างกายเข้าแลกด้วยการชกมวยหาเงินเลี้ยงตัว มวยไทย มวยสากล เอามันทุกอย่างเพราะท้องมันหิว ใจมันสั่งให้สู้เพื่อประทังชีวิต ไม่ได้คิดจะทำร้ายใคร ชีวิตบนสังเวียนผ้าใบ ม.ฤทธิ์เต็ม ผ่านมามากพอดู โดยชกมวยไทยมามากกว่า 20 ครั้ง ชกมวยสากลอีก 5 ครั้ง ส่วนมากก็จะได้ชัยชนะ แต่ที่ได้ลงมาจากเวทีด้วยคือความเจ็บปวดของร่างกาย เพราะชกมวยไม่ใช่เล่นหมากเก็บ จึงต้องเจ็บตัว ส่วนเวทีที่ ม.ฤทธิ์เต็ม ต่อยมวย ก็เป็นเวทีมวยงานวัดธรรมดาๆ นี่แหละ ไม่ใช่ ราชดำเนิน-ลุมพินี อะไร ชกเพียงเพื่อมีรายได้ประทังความหิวเท่านั้น ไม่ได้มุ่งหวังจะไปเป็นแชมป์อะไรที่ไหน

ในช่วงนั้น บางครั้งเขาก็ถึงกับเคยร้องไห้ ที่เห็นคนอื่นมีทุกอย่าง แต่ตัวเขาไม่มีอะไรเลย แม้แต่พ่อและแม่ แต่เขาก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทำงานต่อไป และหลังจากจบการศึกษาชั้น ม.ศ. 3 ก็สมัครเข้าเป็นอาสาสมัครทหารพรานทันที เขาเป็นทหารพรานอยู่หลายปี โดยถูกส่งไปทำงานปราบ ผกค. จับฝิ่น และไม้เถื่อนอยู่แถว จ. ตาก , เชียงราย , กำแพงเพชร

ม. ฤทธิ์เต็ม สนใจเรื่องเพลงและดนตรีมาตั้งแต่เด็กๆ โดยตอนแรก เขาร้องเพลงของสุชาติ เทียนทอง, รุ่งเพชร แหลมสิงห์ , ระพิน ภูไท แต่พอเริ่มเป็นวัยรุ่น ก็หันมาสนใจเพลงสตริง โดยเริ่มจากวงชาตรี พร้อมกับการหัดเล่นกีต้าร์ สำหรับเพลงประเภทเพื่อชีวิตนั้น เขาเริ่มสนใจตอนเป็นทหารพราน หลังจากที่ฟังเพลงชุด “ ลุงขี้เมา “ เพราะตอนอยู่ในป่ารู้สึกเหงามาก ประกอบกับมีเพื่อนทหารพรานบางคนก็ชอบคาราบาวเช่นกัน ก็เลยจับกลุ่มกันเล่นดนตรีแก้เหงา ซึ่งในช่วงนั้น เขาก็เลยพยายามหัดร้องให้เหมือนแอ็ด คาราบาว และเมื่อคิดว่าเสียงของตัวเองเหมือนแอ็ด คาราบาว ก็ทำให้เขายิ่งชอบวงนี้มากขึ้นไปอีก ก็เลยหัดร้องเรื่อยมา

ระหว่างนั้นเขาก็เริ่มหัดแต่งเพลงอยู่บ้าง ซึ่งแม้จะเป็นทหารพราน ทำหน้าที่ปราบปรามคอมมิวนิสต์ แต่ความที่เขาไม่ชอบการฆ่าฟัน ความคิดที่ว่าพวกคอมมิวนิสต์ก็มีอุดม
การณ์ อยากทำให้ชาติเจริญเช่นกัน รวมทั้งเห็นใจนักศึกษาในช่วง 14 ตุลาคม และการปรักปรำหลังจากนั้น ก็เลยทำให้หลายเพลงของเขากลายเป็นเพลงที่ออกมาในแนวสนับสนุนขบวนการเหล่านี้ไป

หลังจากที่ออกจากทหารพราน ก่อนที่จะเข้าสู่วงการ เขาก็เคยตั้งวงดนตรีเล็กๆชื่อวงดอกฝิ่น เพื่อรับจ้างตามงานบวชงานแต่งที่บ้านเกิด เพราะคิดว่าเสียงของเขาก็พอใช้ได้ แต่ก็ไม่ได้หวังว่าจะเข้าสู่วงการ เพราะคิดว่าคงไม่มีโอกาส ไม่มีคนรู้จักในวงการ แต่ก็พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เรื่องนี้มีความเป็นไปได้ เช่นการพยายามแต่งเพลง และไปเรียนดนตรีเพิ่มเติม เคยพยายามเข้ามาเล่นดนตรีในเมืองใหญ่อย่างพัทยา แต่ก็ไม่ได้รับโอกาส

ม. ฤทธิ์เต็ม ที่ชื่นชอบและชื่นชม แอ๊ด คาราบาว มากเป็นพิเศษ ในที่สุด ก็ได้เข้าประ
กวดร้องเพลงในรายการ คอนเสิร์ตคอนเทสต์ รายการประกวดร้องเพลงแนววัยรุ่นชื่อดังของค่ายเจเอสแอล จนชนะเลิศในรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ด้วยเพลง พระเจ้าตากของคาราบาว โดยในวันนั้นเขามาในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบพระเจ้าตาก และร้องได้เหมือนกับแอ็ด คาราบาวอย่างมาก ทำให้กรรมการประทับใจ ในที่สุดก็เลยได้เซ็นสัญญาเข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดของบริษัทคีตา เร็คคอร์ด ที่ก่อตั้งเมื่อเมื่อ มกราคม 2530 โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า คีตา แผ่นเสียงและเทป จำกัด และตอนหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น คีตา เร็คคอร์ด และ คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ แต่ปัจจุบันได้ปิดกิจการไปแล้ว

แม้ว่าเขาจะลงจากเวทีประกวดคอนเสิร์ตคอนเทสต์ ในฐานะนักร้องชนะเลิศ แต่กว่าจะได้ออกเทปออกอัลบั้มนั้นก็ไม่ง่ายเลย เขาต้องเทียวไปเทียวมาระหว่าง กรุงเทพฯ-อุทัยธานี หลายเที่ยว เนื่องจากเขาเป็นนักร้องประเภทขายเสียง ไม่ใช่นักร้องขายรูปร่างหน้าตา ทางบริษัทจึงต้องคิดเรื่องการวางคอนเซปต์กันนานมากเป็นพิเศษ เพราะกลัวจะพลาด ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับว่าช่วงนั้นท้อแท้ ยังไม่หมดหวัง เพราะทางบริษัทก็ไม่ได้ทิ้งไปเสียทีเดียว ยังเรียกตัวมาคุยถามสารทุกข์สุขดิบอยู่บ้าง แต่การคาราคาซังอยู่เช่นนี้ ก็ทำให้เขาหันไปทำงานอื่นไม่ได้ กลัวว่าปุ๊บปั๊บบริษัทจะเรียกตัว ทำให้ต้องนั่งใช้เงินเก่าไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ตัดสินใจว่า ถ้าครบ 2 ปีแล้วบริษัทไม่เรียกตัว เขาก็จะไปทำงานอื่น

แล้วที่สุดผลงานอัลบั้มแรกของเขาก็วางตลาดในชื่ออัลบั้มว่า ดูช้างชนกัน ที่มีเพลงเด่นมากนั่นก็คือเพลง ข้ามันลูกทุ่ง ขณะเดียวกันก็มีการปรับภาพลักษณ์ให้เขาเป็นนักร้องนุ่งกางเกงยีน เสื้อยืด แถมด้วยผ้าโพกหัว พร้อมกับชื่อแปลกๆ ว่า ม.ฤทธิ์เต็ม เจ้าตัวบอกว่า แต่เดิมจะต้องมีแจ็คเก็ตหนังด้วย แต่ต่อมาเขาทำมันหายไปเสียก่อน ก็เลยไม่ได้ใช้

ม. ฤทธิ์เต็ม มีงานเปิดตัวที่ลานจอดรถห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว ในปี 2532 ซึ่งก็ปรากฏว่าถูกใจแฟนเพลงในทันที โดยทุกเพลงในอัลบั้มนี้ก็ล้วนถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนชนบท ชีวิตที่ถูกเอาเปรียบ ผ่านการสร้างสรรค์บทเพลงจากวิเชียร คำเจริญ หรือ ลพ บุรีรัตน์ และเดชา อินทาภิรัต ในผลงานชุดแรก ม.ฤทธิ์เต็ม ก็ได้พยายามนำเสนอผลงานเพลงทั่วเองแต่งไว้ แต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับให้นำมาใส่ในงานชุดนี้

ลพ บุรีรัตน์ ซึ่งเป็นผู้ที่เขียนเพลง ข้ามันลูกทุ่ง ซึ่งต่อมากลายเป็นบทเพลงประทับใจเพลงหนึ่ง ที่ยังมีคนรุ่นหลังนำไปร้องต่อกันอยู่แม้ทุกวันนี้ บอกว่านักร้องคนนี้ร้องเพลงดี แต่น่าเสียดายที่หลุดไม่พ้นเสียงและภาพของแอ๊ด คาราบาว เรื่องนี้คงทำให้ทำอะไรได้ลำบากพอดู ขณะที่เจ้าตัวก็บอกว่า ตอนที่เขาได้ออกผลงาน เสียงแบบแอ๊ด คาราบาวกลายเป็นเสียงธรรมชาติของเขาไปแล้ว โปรดิวเซอร์ก็พยายามให้เขาร้องในเสียงในแบบที่แตกต่างออกไป แต่เขาก็ทำไม่ได้

ม.ฤทธิ์เต็ม มีผลงานออกมาไม่มากนัก ก่อนที่จะค่อยๆ เงียบหายไป และเขาได้เสียชีวิตในวัยยังหนุ่มเมื่อหลายปีก่อนด้วยโรคมะเร็ง

นำเพลง ข้ามันลูกทุ่งมาให้ฟังกันครับ เพลงนี้ระบุว่า ประพันธ์โดย วิเชียร คำเจริญ หรือลพ บุรีรัตน์ แต่ ม. ฤทธิ์เต็ม บอกว่า เขาเป็นคนเริ่มแต่งเอาไว้ และมีการนำไปให้ลพ บุรีรัตน์ขัดเกลา

เพลง ข้ามันลูกทุ่ง
คำร้อง/ทำนอง วิเชียร คำเจริญ
ขับร้อง
ม. ฤทธิ์เต็ม

ข้ามันลูกทุ่งข้านอนมุ้งสี่สาย
ผูกด้วยเชือกจูงควาย เอนกายแล้วสิ้นลำเค็ญ
ไม่ต้องสนใจมาดัดนิสัยข้าดอกบานเย็น
ข้ามันลูกทุ่งเอ็งก็คงเห็น ข้าเป็นแค่คนชาวนา

ถ้าเอ็งมองข้าว่าหัวข้าล้าสมัย
สุดที่เอ็งทนได้ ตามใจเอ็งเถิดแก้วตา
จะเปิ่นหรือเชย ข้าก็ยังเคยมุ้งแบบของข้า
เอ็งอยากจะรักข้าก็ไม่ว่า เอ็งจะเกลียดข้าไม่ว่าสักน้อย

ไอ้หนุ่มบางไหน มันใส่กางเกงหุ่นสวย
ถ้าเอ็งชังกางเกงขาก๊วย คนสวยไม่ต้องมาคอย
ถ้าเจ้าบานเย็น คิดไปเด่นในกรุงเลิศลอย
อยากจะทิ้งข้าให้เศร้าหงอย ข้าจะไม่คอยขวางตา

ข้ามันลูกทุ่งข้านอนมุ้งสี่หู
ข้าพูดเอ็งมึงกู ฟังดูก็ตรงหนักหนา
ข้าชอบไทยเดิม ข้าส่งข้าเสริมคำพูดบ้านข้า
ข้าแต่งกับเอ็งเอ็งเป็นของข้า ใครเรียกภรรยาแต่ข้าเรียกเมีย

สุรศักดิ์ วงษ์ไทย

สุรศักดิ์ วงษ์ไทย (เอ็ม) เป็นนักร้อง นักแสดงชาวไทย เกิดวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เข้าวงการเมื่ออายุ 20 ปี โดยรับบทเป็นตัวประกอบในหนังเรื่อง “น้ำพุ” ในปี 2528 ต่อมาจึงได้รับบทแสดงนำเรื่องแรกคือ “ซึมน้อยหน่อย กะล่อนมากหน่อย” ของไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จนมีชื่อเสียงโด่งดัง จึงมีงานแสดงภาพยนตร์ตามมาหลายเรื่อง อาทิ ฉลุย, ม่อก 2 ต้องได้สาม และ กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน ซึ่งเรื่องนี้เองได้รับรางวัลดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดภาพยนตร์แห่งชาติครั้งที่ 1 เมื่อปี 2535

สุรศักดิ์มีผลงานละคร พิธีกร และภาพยนตร์ในเวลาไล่เลี่ยกัน อีกทั้งยังได้ออกผลงานเพลงอัลบั้ม “ตัว M” ของค่ายคีตา เรคคอร์ดส ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็มีเพลงที่ฮิตและจดจำมาจนปัจจุบันคือ “อยู่ตัวอยู่แล้ว”, “ละลาย”, “อยากไปก็ไป”

ทางด้านงานแสดงละครโทรทัศน์ ได้แก่ จ่ากองร้อย, แก้วขนเหล็ก, เขยบ้านนอก (ทั้ง 2 ภาค) หลังประสบความสำเร็จหน้ากล้องแล้ว จึงเริ่มจับงานหลังกล้อง เช่น เป็นครีเอทีฟให้กับพาเมล่า เบาวเด้นท์ เป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เช่นเรื่อง เสียดาย 2, สุริโยไท (ในเรื่องนี้เป็นเจ้าของมือที่เอื้อมมาสวมหน้ากากให้พระศพของสมเด็จหน่อพุทธางกูร) และกำกับละครเรื่อง เขยบ้านนอก ภาค 2 เป็นต้น

ภาพยนตร์
แสดงน้ำพุ (2527)
ซึมน้อยหน่อย กะล่อนมากหน่อย (2528)
ปลื้ม (2529)
ช่างมัน..ฉันไม่แคร์ (2529)
โปรดทราบ..คิดถึงมาก (2529)
เฮงได้ เฮงดี รักนี้ (2530)
ลุ้นอลเวง (2530)
เหยื่อ (2530)
คืนปล่อยผี (2531)
หลอกนิด นิด รักจริง จริง (2531)
ฉลุย (2531)
รักเพี้ยน เพี้ยน (2532)
ฉลุย โครงการ 2 (2533)
สยึ๋มกึ๋ย (2534)
ม่อก 2 ต้องได้สาม (2534)
กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน (2534)
อ้อนกะล่อนเต็มสูตร (2535)
แจ๊คพ็อตคนจะรวยช่วยไม่ได้ (2535)
ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (2537)
นะมะปะสุ (2538)
โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (2538)
แก๊งค์ตบผี (2555)
ฯลฯ

พากย์เสียงShrek 3 (2007) ให้เสียง ด๊องกี้ (ไทย)
Shrek Forever After (2010) ให้เสียง ดองกี้ (ไทย)

ละครโทรทัศน์ปัญญาชนก้นครัว (2531)
จำเลยรัก (2531) รับเชิญ
เขยบ้านนอก (2532)
เขยบ้านนอก ภาค 2 (2535)
เจ้าพ่อจำเป็น (2538)
ฯลฯ

พิธีกรรายการ โชว์บาย โชว์ไบ ทางช่อง 5 (เป็นรายการลิขสิทธิ์ NIPPON TELEVISION NETWORK INC.)
รายการ ซี้ย่ำปึ้ก ทางช่อง 5
รายการ เกมพิศวง ทางช่อง 7
รายการ ตะลุยเรื่องเด็ด ทางช่อง 3
รายการวิทยุ ถามมาซิจ๊ะ..โดน คลื่นสไมล์เรดิโอ
ฯลฯ

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (ชื่อเล่น: อ๊อฟ) เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2504 เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับชาวไทย ทางด้านธุรกิจเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอค อาร์ต เจเนอเรชั่น จำกัด

วงการบันเทิง
พงษ์พัฒน์ เรียนจบระดับปริญญาตรีทางด้านพลศึกษา มีพ่อแม่เป็นครู เข้าไปเป็นพนักงานที่บริษัทผลิตรองเท้ากีฬาแห่งหนึ่ง โดยดูแลงานในส่วนของฝ่ายผลิตภัณฑ์ทั้งงานผลิตและการตลาด แต่หลังจากนั้นก็ได้เข้ามาเป็น 1 ในคนทางบ้านที่สมัครเข้าแข่งขันในรายการเกมโชว์ที่โด่งดังในยุคนั้น คือ มาตามนัด และ พลิกล็อก และเป็นที่เข้าตาทีมงานบริษัทเจเอสแอล เมื่อทางบริษัทกำลังจะเปิดตัวละครเรื่องใหม่ที่ต้องการนักแสดงที่มีบุคลิกกำยำ แข็งแรง พงษ์พัฒน์จึงถูกเรียกให้เข้ามาทดสอบการแสดง จนได้แสดงละครครั้งแรกคือเรื่อง เมฆินทร์พิฆาต ในปี พ.ศ. 2528 ถือเป็นการเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว และเริ่มมีงานละครอีกหลายเรื่องในระยะเวลาต่อมา

นักร้อง
พงษ์พัฒน์มีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้องในแนวร็อก สังกัดคีตา เอนเตอร์เทนเมนท์ โดยได้ออกผลงานเพลงของตนเองจำนวน 7 ชุด ก่อนจะพลิกบทบาทมาอยู่เบื้องหลังในฐานะผู้กำกับละครและภาพยนตร์ ควบคู่กับงานแสดง และงานร้องเพลงตามที่ว่าจ้าง

เยื่อไม้

 

เยื่อไม้ เป็นชื่อวงดนตรีสัญชาติไทย ที่มีผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2533 ทั้งหมด 13 ชุด โดยเป็นการนำเพลงเก่าของสุนทราภรณ์ และศิลปินครูเพลงลูกกรุง มาบรรเลงใหม่โดยใช้เครื่องดนตรีอคูสติก ผู้ตั้งชื่อวงคือ ประภาส ชลศรานนท์ โดยให้ความเห็นว่า “งานของท่านก็เหมือนกับต้นไม้ใหญ่ที่ยังยืนต้นอยู่ เยื่อไม้ก็เป็นเพียงเยื่อบางๆ ของต้นไม้ใหญ่เท่านั้น”[1]

สมาชิกวงดนตรี “เยื่อไม้” มี ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ เป็นหัวหน้าวงควบตำแหน่งเปียโน และ นพ โสตถิพันธุ์ นักไวโอลินอาวุโส โดยรวบรวมพรรคพวกจากวงยามาฮ่าซาวด์เข้าร่วมวงเยื่อไม้ ได้แก่ วีรชัย เขียวขจี มือกลอง เจน เฉลยกาย เล่นดับเบิลเบส สมชาย เฟี้ยวสำอางค์ เล่นฟลุท พิเนตร เนตรงาม เล่นกีตาร์ โดยมี วิระ บำรุงศรี และ อรวี สัจจานนท์ เป็นนักร้องนำของวง[2] โดยมีจุดประสงค์เพื่ออนุรักษ์และสืบสานงานเพลงเก่าอันทรงคุณค่า ดังนั้นลักษณะการร้องและการเล่นดนตรีของวงจึงใกล้เคียงกับต้นฉบับ แต่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการใช้เครื่องดนตรีที่ล้วนทำจากไม้ ท่ามกลางวิวัฒนาการการบันทึกเสียงด้วยเครื่องดนตรีอันทันสมัย

อัลบั้มชุดแรกของวง ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2531 ภายใต้สังกัด คีตาแผ่นเสียง-เทป ในชื่อชุด “เยื่อไม้ ๑” โดยเป็นบทเพลงของสุนทราภรณ์ทั้งหมด บันทึกเสียงที่ห้องอัดไพบูลย์ ศุภวารี ต่อมาถึงชุด “เยื่อไม้ ๒” ได้นำบทเพลงของครูเพลงท่านอื่นๆ ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ พยงค์ มุกดา, นคร มงคลายน, ชาลี อินทรวิจิตร, สมาน กาญจนผลิน, สุรพล โทณะวณิก, ป.ชื่นประโยชน์ และ เกษม ชื่นประดิษฐ์ มาบรรเลงใหม่ และยังได้ออกผลงานในนามวงอีก โดยแบ่งเป็นอัลบั้มเพลงร้อง คือ “เยื่อไม้ ๓ บานเช้า”, “เยื่อไม้ ๔ บานเย็น”, “เยื่อไม้ ๖ เก้าละคอน”, “เยื่อไม้ ๗ เก้าครู”, “เยื่อไม้ ๙ ลีลาศ”, “เยื่อไม้ ๑๐ ลีลา”, “เยื่อไม้ ๑๑ สถาบัน”, “เยื่อไม้ ๑๒ เพลงรัก” และ “เยื่อไม้ ๑๓ เพลงรำ” ส่วนอัลบั้มเพลงบรรเลง มี 2 ชุดคือ “เยื่อไม้ ๕ เสียงจากไม้” และ “เยื่อไม้ ๘ เพลงผลัดใบ” โดย นพ โสตถิพันธุ์ รับหน้าที่บรรเลงเดี่ยวไวโอลิน [3]

วงเยื่อไม้ยุบวงในปี พ.ศ. 2533 โดยออกอัลบั้มชุดที่ 12 และ 13 ซึ่งได้เพิ่มเครื่องเป่าทองเหลืองเข้าร่วมบรรเลงด้วย และไม่ใช้สีทองสกรีนบนปกเทปเช่นชุดก่อน นอกจากนี้ นพ โสตถิพันธุ์ ยังได้ออกอัลบั้มเดี่ยวไวโอลินอีกชุดหนึ่งโดยไม่ใช้ชื่อเยื่อไม้ คือ “ชนบทบรรเลง” หลังจากนั้น นักร้องของวงคือ วิระ เป็นสมาชิกวงมะลิลา บราซิลเลี่ยน และยังคงตระเวนร้องเพลงตามงานต่างๆ ควบคู่กับงานราชการ[4] ส่วน อรวี เป็นนักร้องค่ายแกรมมี่จนถึงปัจจุบัน

อนึ่ง มีสมาชิกวงเฉลียงเข้ามาเป็นศิลปินรับเชิญบันทึกเสียงให้กับวงเยื่อไม้ คือ ภูษิต ไล้ทอง เล่นคลาริเน็ต ในชุดที่ 2 และ 5 และ วัชระ ปานเอี่ยม ร่วมร้องเพลง บ่าวสาวรำวง และ ไม่รักใครเลย ในชุดที่ 9

 

ยุ้ย ญาติเยอะ

ยุ้ย ญาติเยอะ มีชื่อจริงว่า จริยา ปรีดากูล เกิดเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2521 เป็นบุตรนายชนะ และนางสายหยุด ปรีดากูล ซึ่งทั้งคู่ต่างก็เป็นลิเกเก่า มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ห้วยขวาง กทม.  เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยหอการค้า ปัจจุบันพักอยู่ที่บ้านที่ภาษีเจริญ กทม.

 

 

เธอได้รับสมญานามในวงการลูกทุ่งว่าเป็น “ เจ้าหญิงลูกทุ่ง “ เพราะได้รับการยกย่องมาตั้งแต่สมัยเด็กๆว่าเป็นตัวตายตัวแทน หรือพุ่มพวง 2 ของราชินีลูกทุ่ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ทั้งเรื่องของหน้าตา ลีลา และน้ำเสียง จนกระทั่งมีการเล่าลือกันว่าเธอเป็นลูกสาวแท้ๆของพุ่มพวง ดวงจันทร์ กันเลยทีเดียว จากความโดดเด่นของเธอ ทำให้ตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ด้วยอายุแค่เพียง 10 ขวบเท่านั้น ยุ้ย ญาติเยอะ สามารถทำเงินได้เป็นล้านๆ เพราะเธอเริ่มออกอัลบั้มผลงานเพลงชุดแรกตั้งแต่อายุแค่ 9 ขวบเท่านั้น และตลอดชีวิตการเป็นนักร้องอาชีพ มีผลงานเพลงออกมามากมาย นับไม่หวาดไม่ไหว อย่างแค่ชุด “ ยุ้ยเป็นสาวแล้ว”  อย่างเดียวนั้น ก็มีมากกว่า 20 อัลบั้มเข้าไปแล้ว

ยุ้ย ญาติเยอะ ที่มีความนิยมชมชอบพุ่มพวง ดวงจันทร์อย่างมาก จนถือว่าพุ่มพวงเป็นแม่ของเธออีกคน เข้าสู่วงการเพลง จากการประกวดคอนเสริตคอนเทสท์ รายการประกวดร้องเพลงรายการแรกๆของประเทศไทยที่มีการโชว์คะแนนของกรรมการ เมื่อยี่สิบปีเศษๆ มาแล้ว ซึ่งเป็นรอบพิเศษที่จัดให้เด็กๆ มาประกวดกัน ตอนนั้นยุ้ยน่าจะอายุประมาณ 7-8 ขวบ โดยเธอร้องเพลง “ คนดังลืมหลังควาย “ ของพุ่มพวง และเอาชนะเด็กชายที่ร้องเพลง “ จดหมายจากแม่ “  ที่ได้ที่สองแบบเอกฉันท์  และใครๆก็คิดว่ายุ้ยนี่แหละคือตัวแทนของพุ่มพวง ทั้งเสียงร้องและหน้าตา ซึ่งเธอก็ทำได้สำเร็จ

โดยหลังการประกวด ยุ้ยก็ได้ออกเทปมาสองชุด โดยชุดแรกมีชื่อว่า ยุ้ย ญาติเยอะ แล้วก็เงียบไป หลังพุ่มพวง ดวงจันทร์เสียชีวิตเมื่อปี 2535 มีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “รักอาลัย พุ่มพวงดวงจันทร์” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นอย่างเร่งด่วนเพื่อตอบรับกระแสการเสียชีวิตของพุ่มพวงในขณะนั้น และบอกเล่าประวัติความเป็นมาของพุ่มพวง งานนี้ ยุ้ย ญาติเยอะ ก็ได้รับบทเป็นพุ่มพวงสมัยยังเป็นเด็กด้วย

 

จากนั้น ยุ้ย ญาติเยอะก็กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งในด้านผลงานเพลง และขึ้นมามีชื่อเสียงอย่างมากจากผลงานชุด ยุ้ยเป็นสาวแล้ว 4

ด้วยความโด่งดังที่มากมายของเธอ ทำให้ตั้งแต่เด็กๆเธอมีงานร้องเพลงทุกวัน โดยในยุครุ่งเรือง เธอต้องทำงานปีละ 365 – 366 วัน โดยเมื่อมาอยู่กับสังกัดค่ายโฟร์เอส ออกอัลบั้มชุด “ ยุ้ยเป็นสาวแล้ว “ และมีวงดนตรีที่มาสมาชิกในวง 150 ชีวิตเป็นของตนเอง ก็ยิ่งไม่สามารถจะหยุดได้เลย ไม่มีงานหา ไม่มีเจ้าภาพจ้างไปแสดง  ก็จะไปหาปิดวิกเปิดการแสดงกันเอง  ทำให้ชีวิตแบบเด็กๆของเธอได้ขาดหายไปจาก แต่ยุ้ย ญาติเยอะก็บอกว่า เธอไม่รู้สึกแตกต่าง เพราะชีวิตเป็นแบบนี้มาตั้งแต่เด็กๆอยู่แล้ว  ประกอบกับการได้แลกกับชื่อเสียง การมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพ่อแม่สบายขึ้นกว่าแต่ก่อน

ยุ้ย ญาติเยอะ ที่อยู่กับวงการมาโดยตลอดนานเป็นสิบๆปี ได้ห่างหายหน้าไปจากวงการไปราว 5 ปี หลังจากที่ยุบวงใหญ่ และหันมาทำวงของตัวเอง แต่ประกอบกับช่วงนั้น พ่อ ซึ่งเป็นเสมือนผู้จัดการส่วนตัวของเธอ มาป่วยเป็นโรคหัวใจและเบาหวาน เธอจึงปลีกตัวจากงานเพื่อมาดูแลปรนนิบัติผู้ให้กำเนิด ขณะที่ผลงานเพลงที่ปล่อยออกมาบ้างในช่วงนั้น  ก็เจอกับปัญหาเทปผีซีดีเถื่อน ก็เลยทำให้ข่าวคราวในวงการบันเทิงของเธอดูเหมือนจะหายไปจากวงการเลยราว 2 ปีหลัง เรื่องนี้ทำให้มีข่าวลือเกี่ยวกับเธอมากมาย แต่หลังจากที่พ่อเสียชีวิตไป เธอก็กลับมาร้องเพลงดังเดิม

ยุ้ย ญาติเยอะ เป็นนักร้องที่มีรูปร่างไม่สูง แต่มักจะมีปัญหาเรื่องที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วแต่ลดลงยาก ประกอบกับการเป็นคนกินเก่ง ทำให้รูปร่างของเธอออกมาในแนวตันๆ เธอพยายามแก้ปัญหาโดยกรกินยาลดความอ้วน เพื่อควบคุมรูปร่างมาตั้งแต่อายุ 13 และเพิ่งมาหยุดตอนอายุ 20  หลังจากทราบถึงอันตรายของยา แต่หลังจากหยุดยา ก็ทำให้น้ำหนักของเธอปาเข้าไปถึง 79 กิโลกรัม ก่อนทีเธอจะพยายามลดมันลงมาอยู่ที่ประมาณ 55 กิโลกรัม หลังจากที่แฟนเพลงส่งเสียงบ่นมามาก

นอกจากการเป็นนักร้องแล้ว ยุ้ย ญาติเยอะ มีความใฝ่ฝันที่จะเป็นดีไซเนอร์ด้วย และกำลังศึกษาในเรื่องนี้อยู่ เพราะในยามว่าง เธอก็มักจะออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าที่ใช้ในการร้องเพลงของเธอเอง

ยุ้ย ญาติเยอะ ได้รับเลือกเป็นลูกกตัญญู ประจำปี 2552

เฌอ

บทความนี้เกี่ยวกับวงดนตรี สำหรับความหมายในภาษาไทย ดูที่ ต้นไม้
 
 
สมาชิก

ต้นดนตรี (พ.ศ. 2530)

สังกัด KITA Record

  1. คิดถึงห่าง…ห่าง
  2. ได้แต่เสียใจ
  3. รักก็บอก
  4. ห่ามห่ามคนนี้
  5. ข้างหลังเพลง
  6. ทุกๆคนอยากรู้ ทุกๆคนอยากหนี
  7. เคยเป็นอยู่
  8. เจ้าหมอก
  9. ไอ้ยักษ์กับไอ้ผอม
  10. กิ่งก้าน
  11. วันนี้ พรุ่งนี้

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • เอกวิทย์ ทรัพยประภา ปัจจุบันทำงานเบื้องหลังให้กับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • ณัฐพล สุนทรานู เคยออกอัลบั้มกับวง โลโซ ในชุด Rock & Roll และ Losoland ปัจจุบันเป็นสมาชิกของวง พลพรรครักเอย
  • อลงกต เอื้อไพบูลย์ ปัจจุบันเป็นผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา
  • ราเมศ มีเมศกุล มือคีย์บอร์ด ปัจจุบันทำห้องซ้อมดนตรี ชื่อ ห้องซ้อมตาตั้ม ส่งให้เด็กรุ่นหลังเข้าสู่วงการบันเทิงมากมาย อาทิเช่น วงละอ่อน(ปัจจุบันคือ บอดี้แสลม) วงเพียว ป๊อปวรวิทย์ และอื่นๆอีกมากมาย

แอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์

รายการทีวีประเภทประกวดหานักร้องแล้วนำผู้ชนะเลิศมาต่อยอดในเชิงธุรกิจโดยการทำเทปนั้น ในบ้านเราทำกันมาตั้งแต่กลางๆยุคแปดศูนย์แล้ว เป็นรายการของเจเอสแอลใช้ชื่อรายการว่า “คอนเสิร์ตคอนเทสต์” ตัวรายการประสบความสำเร็จสูงอันเนื่องมาจากความสดใหม่ของรูปแบบรายการในขณะนั้น รวมถึงระดับความสามารถของตัวผู้เข้าแข่งขันที่สร้างความน่าสนใจให้กับรายการด้วยเช่นกัน  ค่ายเพลงที่เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อกับทางรายการนี้ได้คือค่าย คีตาเร็คคอร์ดส์ แอนนา, ม.ฤทธิ์เต็ม, ยุ้ย และ วงเฌอ คือรายชื่อนักร้อง-วงดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ (เท่าที่นึกออก)

แอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์ เป็นนิสิตชั้นปีที่สาม คณะนิเทศศาสตร์จุฬา เมื่อตอนเข้าแข่งขันในรายการนี้ในปี 2529 เธอมีประสบการณ์ในการร้องเพลงร่วมกับวงซียูแบนด์อยู่ก่อนแล้ว แอนนาได้เป็นแชมป์ประจำสัปดาห์จากการขับร้องเพลงลูกทุ่งของ บุษบา อธิษฐาน และได้เป็นบิ๊กแชมป์ประจำปี หลังจากชนะเลิศจากรายการแอนนาได้เซ็นสัญญากับทางคีตาเป็นระยะเวลาหกปี แต่มีผลงานออกมาเพียงสองชุดคือ “แกง” ในปี 2530 และ “ขอทางหน่อย” ในปี 2531 ทั้งสองชุดควบคุมการผลิตโดย ธนวัฒน์ (อนุวัฒน์) สืบสุวรรณ และได้ทีมบัตเตอร์ฟลายทำดนตรีให้ทั้งสองชุด งานชุดแรกได้รับความสำเร็จด้านยอดขายมากกว่าชุดที่สอง เพลงช้าขึ้นหิ้งทำเนียบเพลงรักคลาสสิคไปแล้วได้แก่เพลง “เพียงแต่วันนั้น” “เรียนรู้ใจ” “เก็บน้ำตา” ภาพรวมของงานทั้งสองชุดเน้นดนตรีที่สนุกแต่ที่ฮิตเปรี้ยงปร้างกลายเป็นเพลงช้าทั้งหมด

ด้วยตัวแอนนานั้นไม่คิดที่จะจับงานด้านร้องเพลงเป็นอาชีพอยู่แล้วเมื่อมีการประชุมกำหนดทิศทางของแนวเพลงในงานชุดที่สาม แล้วตัวเธอคิดว่ามัน “ไม่ใช่” โครงการนี้เลยต้องพับเก็บไปและเธอก็ไม่ได้มีผลงานเพลงออกมาอีกเลย หลังจบการศึกษาแอนนาทำงานที่แมคโดนัลด์จากนั้นหันไปทำธุรกิจส่วนตัวด้านการนำเข้า-ส่งออก ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นแม่บ้านและเป็นคุณแม่ของลูกสาวหนึ่งคน

ต้นปี 2550 ในคอนเสิร์ต Kita Back To The Future Concert เธอได้รับเชิญให้ขึ้นไปร้องเพลง ให้แฟนๆหายคิดถึงกันไปได้บ้าง

 

This slideshow requires JavaScript.

 

http://www.oknation.net/blog/kilroy/2008/09/08/entry-8

ตัวโน้ตอารมณ์ดีนามว่า เฉลียง

ประภาส ชลศรานนท์มีความต้องการชื่อที่สื่อถึงมนุษย์ เป็นบ้าน เป็นจิตใจ และต้องการสื่อถึง ตรงกลาง ที่อยู่ระหว่างข้างนอกและข้างใน (จิตใจ) จึงนึกถึงชื่อเฉลียงที่เป็นส่วนที่เชื่อมต่อข้างนอกกับข้างในบ้าน ประกอบกับชื่อเฉลียงมีเสียงคล้ายกับ เฉียงๆ ไม่ค่อยตรง เป็นการสะท้อนภาพ แต่ไม่ใช่สะท้อนภาพสังคมแต่เป็นการสะท้อนภาพจิตใจ

ยุคที่หนึ่ง

เฉลียงเกิดจากการรวมกันของกลุ่มนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ประภาส ชลศรานนท์ และวัชระ ปานเอี่ยม ทำเพลงตัวอย่าง นำไปขอให้ เรวัต พุทธินันทน์ อำนวยการผลิตให้

หลังจากเรวัตได้ฟังและพบว่านิติพงษ์ร้องเสียงเพี้ยนต่ำไม่เหมาะกับการเป็นนักร้องนำ จึงเสนอให้ สมชาย ศักดิกุล ที่ขณะนั้นเป็นนักดนตรีอาชีพอยู่มาเป็นนักร้องคู่กับวัชระ ในผลงานชุดแรก ในปี พ.ศ. 2525 ที่แท้จริงไม่มีชื่อชุด แต่เนื่องจากหน้าปกที่ออกแบบโดยประภาสมีรูปฝน จึงถูกเรียกว่าชุดปรากฏการณ์ฝน ตามชื่อเพลงหนึ่งในชุดนั้น หลังจากผลงานชุดแรกออกมาไม่ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และเสียงตอบรับ มียอดขายไม่เกิน 4000-5000 ม้วน [2] เฉลียงจึงไม่ได้ออกผลงานอีกเป็นระยะเวลา 4 ปี

ยุคที่สอง

ในปี พ.ศ. 2529 ประภาสมีผลงานเพลงอยู่ชุดหนึ่งที่เคยมีความคิดให้ เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ รุ่นน้องที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เคยร่วมร้องเพลงประกอบโฆษณาที่ประภาสแต่ง ออกผลงานเป็นศิลปินเดี่ยว แต่เนื่องจากอุปสรรคด้านผู้สนับสนุน จึงทำให้โครงการไม่เกิดขึ้น จนกระทั่งศุ บุญเลี้ยง หนึ่งในผู้ได้เป็นเจ้าของ ปรากฏการณ์ฝน และมีความประทับใจในเพลงเที่ยวละไม จึงติดต่อกับประภาสเพื่อนำผลงานเพลงของตัวเองไปให้พิจารณา จึงเกิดความคิดที่จะรวมตัวเป็นศิลปินคู่ในชื่อ ไปยาลใหญ่ แต่ประภาสยังไม่พอใจในผลงานบางเพลง จึงเสนอให้วัชระ กลับมารวมตัวอีกครั้ง และเนื่องจากในหลายบทเพลงมีเสียงของแซกโซโฟน จึงชักชวนให้ ภูษิต ไล้ทอง นักดนตรีเครื่องเป่าที่เคยร่วมงานกันเมื่อครั้งยังเป็นนิสิตมาร่วมกันเป็นวงเฉลียงในยุคที่สอง ผลงานชุดแรกในยุคที่สองกับค่ายครีเอเทียคือ อื่นๆ อีกมากมาย อำนวยการดนตรีโดย ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักฟังเพลงมีการออกแสดงคอนเสิร์ตและมิวสิกวีดีโอ

ต้นปี พ.ศ. 2530 เฉลียงออกผลงานเพลงชุดที่สามกับค่ายคีตาแผ่นเสียงและเทป(ต่อมาคือคีตา เรคคอร์ดสและคีตา เอนเตอร์เทนเมนท์) ในชุด เอกเขนก มีเพลง เร่ขายฝัน ที่ถูกทำเป็นมิวสิกวีดีโอยาว 9 นาที และได้รับรางวัลมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยมจากสมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพฯ (B.A.D. Awards) ประจำปี 2530 นอกจากผลงานบทเพลงแล้ว ชื่อเสียงของเฉลียงทำให้ได้เล่นโฆษณาของน้ำอัดลมเป๊ปซี่ ที่เพลงประกอบโฆษณาที่ดัดแปลงจากเพลง รู้สึกสบายดี ได้รับรางวัลจากสมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพฯเช่นเดียวกัน [3]

ปลายปี พ.ศ. 2530 เฉลียงออกผลงานเพลงชุดที่สี่คือ เฉลียงหลังบ้าน ที่ผลงานเพลงส่วนใหญ่เป็นบทเพลงประกอบละครเรื่องต่างๆ ที่ประภาสเป็นผู้แต่ง และแสดงคอนเสิร์ต หัวบันไดไม่แห้ง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531

ยุคที่สาม

หลังจาก เฉลียงหลังบ้าน ศุ ที่งานส่วนตัวเริ่มรัดตัวได้ตัดสินใจของยุติบทบาทกับวง ประภาส จึงชักชวนให้ ฉัตรชัย ดุริยประณีต นักแต่งเพลงที่เคยส่งเพลงมาให้เขาพิจารณาเข้ามาเพิ่มเป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งในเฉลียงยุคที่สาม ที่มีสมาชิก 4 คน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 ผลงานชุดแรกในยุคที่สามคือ แบ-กบาล มิวสิกวีดีโอที่มีชื่อเสียงของชุดนี้คือ ใจเย็นน้องชาย ที่ได้รับรางวัลชมเชยประเภทมิวสิกวีดีโอดีเด่นของคณะกรรมการโทรทัศน์ทองคำ [4] เฉลียงมี คอนเสิร์ตปิดท้ายทอย ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532

ผลงานชุดสุดท้ายของเฉลียงออกใน พ.ศ. 2534 คือ ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ มีบทเพลงที่ได้รับรางวัลสีสันอวอร์ดสาขาเพลงยอดเยี่ยมคือ โลกาโคม่า และเฉลียงยังได้รับรางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยมจากรางวัลสีสันอวอร์ดอีกด้วย เนื่องจากภาระและหน้าที่การงานส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคนทำให้การทำการตลาดและการออกแสดงคอนเสิร์ตเป็นไปได้ยาก ทำให้เฉลียงยุติบทบาทลง

http://www.chaliang.com/